วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สภาพการหมุน


ฟิสิกส์ทางเลือก (Alternative Physics)
http://chevasit.blogspot.com/2012/01/alternative-physics.html

สภาพการหมุน

           เราเรียกหน่วยการหมุนว่าเป็นรอบ ต่อวินาที (หน่วยความถี่ (f):Hz) นั้นหมายความว่าเราfix ความถี่ อ้างอิงเท่ากับ 1 Hz โดยไม่รู้ตัวว่า  หน่วยเรียกการหมุนของเรานั้นอ้างอิงกับความถี่ 1Hz อีกทีหนึ่ง (ด้วยการบอกว่า ต่อวินาที) 

(เราคิดหน่วยเวลา(t)จากความถี่การหมุนของโลกในแต่ละวันดังนั้นหน่วยเวลาของเราคือความถี่การหมุนของโลก)
http://en.wikipedia.org/wiki/Time

    และในการหมุนจะต้องมีจุดที่กำหนดให้เป็นศูนย์กลาง(ซึ่ง fixไว้แม้ว่ามันจะไม่คงที่อย่างแท้จริงก็ตาม เพราะว่าเราไม่สามารถหาอะไรที่มันไม่หมุน มาอ้างอิงได้:เพราะเราอยู่ในโลกที่หมุนอยู่) และสิ่งที่อยู่รอบๆ ตรงกลาง ซึ่งเคลื่อนที่รอบๆ  และเราจะพบว่า การหมุน1 ครั้ง  แต่ละจุดที่ห่างจากจุดศูนย์กลางจะเร็วไม่เท่ากัน ดังนั้นในการวัดว่าความเร็วของการหมุนเป็นเท่าใด เราจะต้องระบุด้วยว่า อยู่ ณ ตำแหน่งห่าง(มาก-น้อย)จากจุดศูนย์กลางวงกลม แค่ใหนและความถี่อ้างอิงตรงกลาง(หน่วยเวลา)เป็นเท่าใดด้วย  เพราะการหมุนของเราอยู่บนสิ่งที่หมุนอีกทีหนึ่ง// ปรับปรุง 6/07/2012
http://www.rmutphysics.com/physics/oldfront/79/rotation.htm

แต่เมื่อคิด จาก สมการ V= fλ จะพบว่า  สิ่งที่สามารถเปลี่ยนได้คือ ความเร็ว v และ(ขนาด)ความยาวคลื่น λ เท่านั้น(เมื่อ fix ความถี่ f แล้ว) และ เมื่อเรากำหนด(วัด)ความเร็วสูงสุดของเราเป็น c (ความเร็วแสง )ได้แล้ว หมายความว่าเรา fix 2 อย่างคือ ทั้งความเร็ว v และความถี่ f ซึ่งจะทำให้เราได้ระยะ λ สูงสุดที่วัดได้คงที่ค่าหนึ่ง

ซึ่งมันขัดแย้งกัน กับหลักความไม่แน่นอนของ ไอเซนเบิร์กอยู่แล้ว ซึ่งบอก ว่าเราไม่
สามารถวัดขนาด(ระบุ)ให้ 2 อย่างนั้นคงที่พร้อมๆกันได้ เมื่อเราเข้าสู่
ขอบเขตอินฟินิตี้ของวงกลม

          ดังนั้นจึงอย่าแปลกใจที่จะสรุปว่า
e = วงกลม(circle)= h (Planck Constant)

และอย่าแปลกใจที่ผมยก ค่า h มากล่าวอ้างด้วย เพราะว่าปกติแล้วค่า h เขาจะใช้คำนวนและอ้างอิงกับพลังงานในระดับอะตอมและควอนตัม แต่ผมเอามากล่าวอ้างอิงไว้เพราะ
    ธรรมชาติคือวงกลม ดังนั้นไม่ว่าสิ่งๆนั้นจะใหญ่หรือเล็กแค่ใหนไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะมันมาจากพื้นฐานเดียวกันดังนั้นมันจึงใช้กฎเดียวกัน นั้นคือ กฏของวงกลมและตอนนี้เราก็เข้าสู่ขอบเขตอินฟินิตี้(เต็มวง) ของวงกลมของเรา(มนุษย์)แล้ว (ด้วยความเร็วแสง C) และกฏการหมุนก็คือกฏของวงกลมด้วย :V= fλ  





และจากสเปคตรัมของแสงในธรรมชาติที่ผมนำเสนอไว้เราพบว่า มีทั้งความถี่ f และความยาวคลื่น λ ซึ่งสามารถคิดได้จากสมการ V= fλ แต่คลื่นแสงที่เราเห็นมีแค่ช่วงเล็กๆเท่านั้น ดังนั้นคลื่นในช่วงอื่นๆที่เรามองไม่เห็นจึงอยู่ในวงกลมวงอื่น  ดังนั้น ความเร็วแสง c ก็ไม่ได้มีแค่ความเร็วเดียวและไม่ใช่ความเร็วสูงสุดแต่อย่างใดแต่เรามองเห็นได้แค่ คลื่นความเร็วแสง c เท่านั้นเพราะเรา(มนุษย์)เกิดจากวงกลมคลื่นย่านความเร็วแสง c หรือกล่าวได้ว่า ความเป็นมนุษย์ของเราจำกัดขอบเขตการรับรู้ของเราเอง(ปรับปรุง5/07/2012) และถ้าเรากำหนดให้ความถี่ f เท่าเดิม และเปลี่ยน ความยาวคลื่น λ  ไป   ความเร็ว v ก็จะเปลี่ยนไปด้วยตามสูตร V= fλ .นั้นหมายความว่า

ในทางกลับกัน สามารถบอกได้ว่า 1 ความถี่คือ 1 ความเร็วแสง(ซึ่งกำหนดจากการfixขนาด ยาวคลื่น λ ให้คงที่)  ซึ่งแสดงว่า จริงๆแล้ว ทั้งความถี่ f ความเร็ว v และความยาวคลืนλ 
สามารถเปลี่ยนแปลงได้หมดไม่มีสิ่งใดคงที่ ตายตัว แต่ถ้าเราจะหาขนาดของสิ่งใดเช่นความเร็ว v  เราจะต้อง(กำหนด)ให้ความถี่ f คงที่(เช่น 1 วินาทีนานเท่านี้)แล้วเราจึงจะสามารถกำหนดขนาด ได้ตามมา แล้ววัดการเปลี่ยนแปลงของขนาด(ความยาวคลื่น)  เทียบกับความถี่ f ที่เรากำหนดให้คงที่ไว้ เราก็จะรู้ความเร็ว V ได้  เป็นต้น 


เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้เราจะไม่สามารถยึดถือสิ่งใดๆในธรรมชาติได้เพราะธรรมชาติไม่มีสิ่งใดคงที่ เพราะมันหมุนอยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือ สสาร พลังงาน ใดๆ (และอยู่เฉยๆ เราก็ยังหมุนตามโลกอยู่เลย)

ดังนั้นการจะเกิดสภาพความเป็นตัวตนขึ้นมาได้เราจะต้องยึดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้เป็นตัวตนของมันโดยการ สมมุติ(กำหนด)ว่านั้นคือสิ่งที่คงที่(หนึ่งใน 3 อย่าง: V, f,λ ) จึงจะสามารถเกิดสิ่งอื่นๆ ตามมา มันเหมือนกับว่าเราต้องมีสติรู้ตัวก่อนจึงจะสามารถคิด สามารถทำสิ่งต่างๆได้

 และเมื่อมีสำนึกตัวตนเกิดขึ้นแล้ว แสดงว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งต้องถูก fix ไว้แล้ว (ซึ่งในกรณีของเราคือ เวลา หรือ ความถี่นั้นเอง) จึงเหลือแค่อีก 2 สิ่งเท่านั้นที่ยังเปลี่ยนแปลงได้ และเราจะไม่สามารถ(วัด)กำหนดให้ 2 สิ่งที่เหลือคงที่พร้อมๆกันได้(ถ้ามันเต็มสภาพวงกลม) เพราะนั้นจะหมายถึงไม่ใช่อินฟินิตี้ เพราะยังแบ่งมันได้อีก และในระบบของการหมุนมันมีแค่ 2 แรงที่แตกต่างเท่านั้นที่ทำให้มันมีสภาพอยู่ได้ดังนั้นเวลาที่วัดมันเราจะตามแรงได้แค่ทีละแรง นั้นคือถ้าจะตามแรงผลักเราก็จะได้รูปแบบของความเร็วP แต่ถ้าตามแรงดึงดูดเราก็จะได้ระยะ(ขนาด)X ออกมา )   
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99

(ปรับปรุง 3/07/2012)


กระบวนการของหลักความไม่แน่นอนของไอเซนเบิร์ก นี้ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ใช้พิจารณาสภาพเต็มวงทั้งหมดของวงกลม(อินฟินิตี้)แต่เมื่อความเร็วของเราไม่ถึงความเร็วแสง เราก็ไม่ถึงอินฟินิตี้ และยังอยู่ในวงกลมวงเดิม ดังนั้นกฏทางฟิสิกส์อื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้หลักความไม่แน่นอน มาพิจารณาร่วมด้วย เพราะมันไม่ใช่วงกลมเต็มวง(เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความเร็วแสง,แบ่งแยกมันได้อีก)แต่เมื่อเรา พิจาณาอะตอม และปริมาณควอนตัมใดๆ เราจำเป็นต้องนำหลักความไม่แน่นอนมาพิจาณาด้วย 
http://en.wikipedia.org/wiki/Quantum
http://en.wikipedia.org/wiki/Quantum_mechanics

เพราะอะตอมของแต่ละฐาตุ (ในตารางฐาตุ) เกิดขึ้นจากแสงแต่ละความเร็ว(cn )(วงกลมคนละวงกัน/ปริมาณควอนตัม h ต่างกัน) และมันต้องเป็นปริมาณที่ลงตัวตาม h เท่านั้นจึงจะอยู่ได้(เสถียร,คลื่นนิ่ง)เพราะว่ามันเต็มวงมีสภาพเป็น 1  ไม่ขาดไม่เกิน  แต่เมื่ออิเล็คตรอน ในอะตอมต้องการย้ายวงกลม(วงโคจร) มันจะต้องมีพลังงานที่เปลี่ยนไปเป็นจำนวน h(วงกลม) ด้วย ซึ่งนั้นหมายความว่ามันต้องมีความถี่ f เปลี่ยนไปด้วย เพราะ 1 ความถี่ คือ 1 ความเร็วแสง 


และถ้าต้องการจะออกพ้นขอบเขตของเวลา 1 วินาทีนั้นหมายความว่า….
          นั้นหมายความว่าเราต้องหมุนมากกว่า 1 Hz หมายถึงพาหนะของเราต้องหมุนด้วยความเร็วมากกว่า1 รอบต่อวินาที(ความนานของเวลาของมนุษย์ซึ่งอ้างอิงจากอัตราความถี่การหมุนของโลก) ซึ่งจะทำให้เราสามารถทำให้เวลา 1 วินาทีของพาหนะของเราเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมของโลก  
        
ปกติหน่วยวัดความเร็ว V ของเราคือ เมตรต่อวินาที (เป็นการวัดในแนวราบ)นั้นหมายความว่าเรา fix ความถี่ f (รอบต่อวินาที)ให้คงที่ และวัดความเร็ว V โดยเทียบระยะ(ความยาวคลืน λ) เป็นระยะทางคือเมตร(ซึ่งเราก็กำหนดขึ้น เป็นอย่างที่ 2) ต่อ ความถี่ที่ fixไว้(เช่น 3 เมตรต่อความนานที่ผ่านไป 1 วินาที(1Hz))  

แต่เมื่อเราเคลื่อนที่แบบเร่งเป็นวงกลม ทำให้ระยะ (ขนาด=ความยาวคลื่น λ) fix อยู่ เพียงอย่างเดียว ดังนั้นความถี่ f ที่มากขึ้นจะทำให้ความเร็วมากขึ้นตามการหมุนที่เร็วขึ้น(สมการ V= fλ) และเมื่อเร่งหมุน(ความถี่)มากถึงระยะหนึ่งเราจะออกนอกพ้นความเร็วแสง 
( 3 x 108  m/s)
แต่อย่าลืมว่าตอนนี้ เวลา(ความถี่ f)1 วินาทีของพาหนะเราเร็วขึ้นแล้วด้วยการหมุน ที่เร็วขึ้น  และ λ  (ขนาด)ก็ไม่ได้น้อยนิดอีกแล้ว  ดังนั้น  ความเร็วแสง C จึงมาถึงเร็วกว่าที่คิด ด้วยการหมุนเพียงไม่กี่รอบ(ขึ้นอยู่กับขนาดของพาหนะของคุณแต่เวลาของเรา(มนุษย์ในพาหนะ)ยังนานเท่าเดิมเพราะเราไม่ได้หมุนไปกับพาหนะด้วย)และเมื่อพาหนะหมุนเร็วเกินความเร็วแสงไปแล้ว  คนอื่นๆ(มนุษย์)ที่อยู่ภายนอกพาหนะนั้นก็จะมองไม่เห็นพาหนะนั้นๆมันจะหายไปจากการมองเห็นของเขา นั้นคือ

มันย้ายมิติไปสู่...วงกลมวงอื่นแล้ว

เราต้องมีความเร็วถึงความเร็วแสงก่อน ถึงจะออกนอกมิติได้เพราะเราต้องมีสภาพเต็มวงก่อน(h =1) จึงจะย้ายไปวงกลมอื่นได้   คล้ายๆกับการทำงานของเครื่องเร่งอนุภาค
 



***เครื่องเร่งอนุภาคของ CERN มีข้อผิดพลาดประการหนึ่งที่เร่งอนุภาคไม่ถึงความเร็วแสงสักที คือ มันยังยึดติดกับผิวโลกอยู่ ***
http://en.wikipedia.org/wiki/CERN

ความเร็วแสง C เป็นขอบเขตของอินฟินิตี้ ซึ่งหมายความว่า มีสภาพเป็น ศูนย์(0)ด้วย(ลองนึกดูภาพวงกลมเมื่อมันเต็มพื้นที่วงกลมแล้วมันจะเหมือนกับจุดๆหนึ่ง) ดังนั้น ศูนย์(0)กับอินฟินิตี้คือสภาพเดียวกัน ซึ่งมีความหมายว่า การมีกับการไม่มี ไม่มีความแตกต่างกัน ไม่สามารถแยกแยะได้( have and have not are not different) นั้นคือที่ความเร็วแสง C (จุดอินฟินิตี้ของวงกลม)นั้น ไม่สามารถบอกได้ว่ามันเป็นคลื่นหรือเป็นอนุภาค(วัตถุ)  ดังนั้น เรามีทางเลือกอยู่ 2 ทางคือไปเร็วเกินความเร็วแสง หมายถึงเปลี่ยนไปเป็นคลื่น หรือ 2 ลดความเร็วลง หมายถึงกลับมาเป็นวัตถุ อีกครั้ง แต่ไม่สามารถดำรงอยู่ที่ความเร็วแสง C ได้ 
http://en.wikipedia.org/wiki/Wave%E2%80%93particle_duality
http://en.wikipedia.org/wiki/Technological_singularity

(ปรับปรุง 5/07/2012)

ไอน์สไตน์ เรียกรูปแบบของความถี่ และความยาวคลื่น λ ว่า กาล- อวกาศ http://en.wikipedia.org/wiki/Spacetime  

และเรียกการ เพิ่มขึ้น หรือลดลงของความถี่ f ว่าการยืดหดของเวลา
http://en.wikipedia.org/wiki/Time_dilation

ดังนั้น จากสมการ V= fλ แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้วรูปแบบของ กาล- อวกาศ ก็คือ
รูปแบบของคลื่น เพราะสมการนี้คือ สมการคลื่น (wave equation) จึงสรุปว่า



   ธรรมชาติคือวงกลมและจะเป็นวงกลมได้จะต้องหมุน(ของสสารและ

พลังงาน)และเมื่อหมุนแล้วจะทำให้เกิดคลื่นและ… 

             ดังนั้น

ธรรมชาติก็คือคลื่น และคลื่นจะเกิดขึ้นได้ต้องมีแรงพื้นฐาน 2 แรง 
ที่แสดงออกเป็น 4 ลักษณะ





2/7/2012



ที่จริง จากที่สรุปว่า ธรรมชาติเป็นคลื่นนั้น เฟอร์เฟคมากแล้ว  แต่ถ้าพิจารณากันจริงๆ แล้วโลกวัตถุไม่ใช่โลก 2 มิติ แต่เป็นโลก 3 มิติ มันมีปริมาตรด้วย ไม่ใช่มีแต่ขนาด ดังนั้น ใน  1 วงโคจรของวัตถุ(อะตอม) จะต้องมีอยู่ 2 ลักษณะ(ควอนตัม) ซึ่งในทางวิชาฟิสิกส์-เคมีเรียกมันว่ามี... ขึ้นกับลง (หรือหมุนซ้ายกับหมุนขวาก็ได้)

 จึงจะเกิดวัตถุ,สสาร (3 มิติ)ขึ้นมาได้  ดังนั้น จำนวนการนับของฐาตุ(ระบบตัวเลขของธรรมชาติ) ที่ถูกคือต้องเริ่มนับ 0 จากฐาตุ He (ฮีเลียม) ไม่ใช่ฐาตุ H (ไฮโดรเจน)  เพราะไฮโดรเจนไม่ใช่ฐาตุ 3 มิติ มันเป็นฐาตุ 2 มิติ (มี อิเล็คตรอนแค่ 1 ตัว ไม่สามารถทำให้เกิดปริมาตรได้) และการที่นับ He ว่าเป็นฐาตุที่ 0 แทนที่จะเป็น 1 เพราะเราต้องมีจุดเริ่มต้น ซึ่งจุดเริ่มต้นไม่ใช่ 1 แต่เป็น 0 ดังนั้นถ้านับตามระบบนี้แล้ว 

เราจะได้ระบบเลขฐาน 8 23)ของธรรมชาติออกมา (8 หมู่ฐาตุ) และเราจะได้ธาตุออกมาเป็น 2 คาบในแต่ละชั้น(Class)ของเลขฐาน 8 ธรรมชาติ เพราะ 1 วงโคจรมี 2 ลักษณะควอนตัม (คล้ายๆ กับระบบตัวเลขของเราที่มีจำนวนบวก + และจำนวนลบ- ด้วย  ซึ่งในกรณีของฐาตุคือ มันหมุนซ้ายรอบหนึ่งและหมุนขวาอีกรอบหนึ่งนั้นเอง) 

นั้นหมายความว่า

 ฐาตุในคาบที่ 1(Li-Ne)และ 2 (Na-Ar)อยู่ในชั้นเดียวกัน:ชั้นที่1 (มี 1 กลุ่ม: A) 

คาบที่ 3 (K-Kr)และ 4 (Rb-Xe)อยู่ในชั้นเดียวกัน :ชั้นที่ 2(มี 2 กลุ่ม: A กับ B)
และ 
คาบที่ 5 (Cs-Rn)และ 6 (Fr-Uuo)อยู่ในชั้นเดียวกัน:ชั้นที่ 3 (มี 3 กลุ่ม:A,Bและ C)

**ผมจัดให้ธาตุ Inner Transition Metal ทั้งหมด เป็น กลุ่ม C 

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ฐาตุในตารางฐาตุของเรามีแค่ 3 ชั้น(Class) ของระบบเลขฐาน 8 ธรรมชาติ
***ถ้าเรามองข้ามเรื่องมวลอะตอม (atomic mass)ไป จะมองภาพได้ง่ายขึ้น เพราะปัจจุบันวิทยาศาสตร์ยังหาคำตอบไม่ได้เลยว่า ความเป็นมวล เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของมวลตามเลขอะตอม อาจจะ ไม่ได้เหมือนกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก(mg) อย่างที่เราคุ้นเคยกันก็ได้เพราะมวล (mass)ไม่ขึ้นกับ
ค่า (ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง) ***
http://en.wikipedia.org/wiki/Electron_configuration
16/07/2012
        
            การรู้ว่าธรรมชาติใช้ระบบการนับแบบเลขฐาน 8 นี้ช่วยให้เราอธิบายได้ว่าทำไมเราถึงเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ในโลหะลวดทองแดง(Cu)ได้ดีที่สุด  ในไดนาโม(หรือมอเตอร์)  แต่เราจะไม่นำโลหะชนิดอื่นเช่น อะลูมิเนียม (Al)เหล็ก(Fe) หรือเงิน (Ag)มา เป็นขดลวดเหนี่ยวนำ 

           และเรารู้ว่า ระบบเลขฐาน 8 นี้อนุญาตให้หมู่ที่ 8 หรือก็คือหมู่ที่ 0 นี้มีฐาตุได้หลายตัว  เช่น 1 หรือ 3 หรือ  7 ฐาตุ ซึ่งเป็นตัวระบุ class ของฐาตุในคาบนั้นๆ  คล้ายๆ
กับ เลข 0 ระบุว่าเลข 2 อยู่ในชั้นที่ 1 และเลข 10 ระบุว่าเลข 12 อยู่ในชั้นที่ 2  นั้นเอง 

**กลุ่ม C มีฐาตุหมู่ 0 จำนวน 7 ตัว คือตั้งแต่ฐาตุที่ 62 (Sm) จนถึง ฐาตุที่ 68 (Er) สำหรับ lanthanide series และ ฐาตุที่ 94(Pu) จนถึง ฐาตุที่ 100 (Fm) สำหรับ actinide series **
         
  *****************************************
         นั้นคือฐาตุหมู่ 0 เป็นฐาตุมาตรฐาน (standard of elements) ที่ฐาตุต่างๆใน
คาบนั้นๆ จะต้องอ้างอิงตัวมันกับ ฐาตุหมู่ 0 ว่ามันมีค่าเป็นเท่าใด เป็น + หรือเป็น - หรือเป็นกลาง    ส่วนฐาตุหมู่ 0 เอง(ทั้งหมด) ตัวมันทำตัว

เหมือนความว่างและความเต็มในตัวของมันเอง  มันมีทั้ง + และ -  ในตัวของมันเอง .....
มันเป็นความสมบูรณ์  

มันทำตัวเหมือนระบบอิสระ
http://en.wikipedia.org/wiki/Isolated_system

(ปรับปรุง 29/07/2012)

       ความสมบูรณ์ต่างจากความเป็นกลาง ซึ่งฐาตุหมู่ 4  เป็น เพราะความเป็นกลางคือ
เสมือนว่าไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่บวก ไม่ลบ นั้นคือความแตกต่าง
ระหว่างความเป็นกลางกับความสมบูรณ์ ซึ่งก็คือฐาตุหมู่ 0 และนิวตรอน(neutron) เป็น 
http://en.wikipedia.org/wiki/Quark

///ปรับปรุง 31/07/2012

**********************
        
   
17/07/2012
         ที่จริงระบบจำนวนนับของคณิตศาสตร์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็นฐาน 10 ที่เราใช้ปกติ หรือฐาน 8 หรือฐาน 2 ในระบบไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิค ก็เป็นระบบวงกลม
เพราะมันจะวนกลับ(อ้างอิง)มาหาจุดเริ่มต้น(0)ของมันเสมอ ไม่ว่าเราจะแบ่งวงกลมของเราออกเป็นกี่ส่วน(ฐาน)ก็ตาม  และจำนวนรอบที่มากขึ้น(น้อยลง)คือความแตกต่าง และมันก็ทำให้ฐาตุแตกต่างกันด้วยเช่นกัน
*****************************

          ถ้าใครที่อ่านเรื่องราวใน blog ของผมมาจนถึงตอนนี้ ก็อาจจะรู้สึกแปลกใจ หรือสับสน หรือสงสัยในความถูกต้องของเนื้อหาใดๆก็ตาม ที่ผมนำเสนอ เพราะหลายอย่างอาจจะขัดแย้งกับที่เราได้เรียนรู้มาจากระบบการศึกษาปกติของเรา
  
           ผมขอกล่าวว่า ผมจะไม่ลงในรายละเอียดมากๆ (นอกจากคณิตศาสตร์ เพราะเป็นลักษณะร่วมของทุกศาสตร์)เหมือนในการนำเสนอผลงานทางวิชาการต่อ คณะกรรมการของมหาวิทยาลัย เพื่อขอรับใบประกาศ แต่จะเน้นการมองในหลักการและภาพรวมมากกว่า ซึ่งมันจะทำให้เราเห็นความสอดคล้องของธรรมชาติ และทำให้เกิดความเข้าใจในศาสตร์ ของแต่ละสาขาได้ง่ายขึ้น แทนที่จะลึกในศาสตร์เดียวมากๆ ซึ่งจะต้องใช้เวลายาวนานและมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยเฉพาะงานที่ต้องการความละเอียดอย่างสูงมากเช่นงาน ด้านฟิสิกส์อนุภาค เป็นต้น ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะทำการศึกษาได้ด้วยคนเพียงคนเดียว หรือไม่กี่คน  และในหลายๆเรื่อง เราไม่สามารถจะใช้ความรู้เพียงแค่ 1 ศาสตร์ เพื่อเข้าใจมันได้ และมันเหมือนกับว่าความรู้แต่ละศาสตร์จะมีรายละเอียด ปลีกย่อย ไม่มีคำว่าสิ้นสุดเลย 

นอกจากนี้ตัวผมเองก็มีเหตุผลและเป้าหมายที่แท้จริง ที่มาเรียนในระดับมหาวิทยาลัย คือ

ผมไม่ได้ศึกษาเพียงเพื่อต้องการที่จะจบการศึกษา  (ซึ่งบางครั้ง ทำให้ผมรู้สึกขัดใจ 
ที่มีคนถามว่าจบไปแล้วอยากได้เงินเดือนเท่าไหร่ หรือ อยากมีตำแหน่งเป็นอะไร เพราะผมเห็นว่ามันเป็นเรื่องไม่สำคัญเท่าไหร่ นัก แต่ผมมักจะถามตัวเองเสมอว่า ก่อนตาย อยากได้อะไร ซึ่งคำตอบที่กลับมาไม่ใช่ความร่ำรวย หรือตำแหน่ง แต่เป็น ความรู้ ที่จะตอบทุกสิ่งที่อยากจะรู้ได้ (รู้แม้กระทั่งว่า ตายไปแล้วจะเป็นยังไง)ซึ่งมันจะทำให้เรามีความสุขมากกว่า เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เราก็อาจจะไม่ต่างกับ สัตว์อื่นๆ ที่วันหนึ่ง มีชีวิตเกิดขึ้นมา ใช้ชีวิต สร้างครอบครัว แล้วก็แก่ และวันหนึ่งก็ตายไปเฉยๆ นั้นคือแตกต่างกันแค่ร่างกายและวิธีการใช้ชีวิต แต่ไม่แตกต่างในการมองธรรมชาติ) 

จากการมองทั้งหมดของชีวิต (ตั้งแต่เกิดจน ถึงตาย)ทำให้ผมศึกษาเพราะอยากจะรู้และเข้าใจธรรมชาติด้วยความตั้งใจจริง โดยอาศัยหลักการทำความเข้าใจจากสิ่งง่ายๆ ไปก่อนและค่อยๆ สะสมความรู้ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตามเหตุผลแล้วความรู้ที่เพิ่มขึ้นนั้นควร จะต้องสอดคล้องกันหมด ตั้งแต่ต้น จนจบ (ไม่ใช่มาเล่นกล เหมือน การใช้งานจำนวนเชิงซ้อน (Complex Number) ในวิชาวิศวกรรมด้านไฟฟ้า หรืออื่นๆ เหมือนในปัจจุบันนี้คือ ตอนเริ่มเรียนให้คิดแบบหนึ่งแต่ ตอนใช้งานให้คิดอีกแบบ) นั้นคือ ถ้าผมเห็นว่าแนวคิดหรือทฤษฎีอะไรก็ตามที่มันไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ไม่สมเหตุสมผล ผมถือว่านั้นต้องมีสิ่งที่ผิดพลาดเกิดขึ้น (แม้ว่ามันอาจจะไม่ผิดทั้งหมดก็ตาม) แม้ว่าคนที่เสนอความคิดหรือทฤษฎีนั้นจะเป็นคนที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็ตาม เพราะถ้าเราอ้างอิงธรรมชาติ เราย่อมถูกต้องมากกว่า หลักธรรมชาติไม่จำเป็นต้องอ้างอิงความถูกต้องด้วยแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์คนใด  แต่แนวคิดหรือทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์ต่างหากที่ต้องอ้างอิงความถูกต้องว่าเป็นไปตามหลักธรรมชาติหรือไม่ 
           ดังนั้นแนวคิดหรือทฤษฎีที่ถูกต้องนอกจากจะสอดคล้องกับผลการทดลองแล้วยังต้องสอดคล้องกับธรรมชาติด้วย จึงจะถือว่าเป็นทฤษฎีที่ถูกต้องสมบูรณ์
18/07/2012

{{{{{{{ และแน่นอนว่าด้วยแนวคิดสุดโต้งแบบนี้ ไม่มีสถาบันวิจัยหรือหน่วยงานใหนๆ มีทุนวิจัยให้ เพราะนอกจากจะไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับทุนวิจัย ที่ต้องเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือจบการศึกษาระดับดอกเตอร์(Ph.D) แล้ว กรอบการศึกษายังกว้างเกินไป ไม่สามารถระบุ กรอบเวลาได้  ไม่ได้อยู่ในกรอบวิชาการ ที่รู้จักและได้รับการยอมรับ และไม่มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการคนใหน ให้การรับรองความน่าเชื่อถือ (งานของผมมันไม่เหมาะกับคนที่รู้สึกว่าความรู้ในปัจจุบันนั้นเพียงพอแล้วกับชีวิต ไม่เหมาะกับคนที่ไม่เคยคิด ไม่เคยฝันถึงชีวิต สังคมที่ดีกว่าเดิม แต่เหมาะกับคนที่หาทางออก ช่องโหว่และความไม่สมบูรณ์ในวิชาการ และกฏเดิมๆ (เช่น กฎเทอร์โมไดนามิกส์ เป็นต้น)และมีใจเปิดกว้าง ไม่ตีกรอบตนเองให้อยู่เฉพาะที่ตนเองรู้มา พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ) ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ต้องทำด้วยใจจริงๆ ด้วยรู้สึกว่าอยากจะทำ ด้วยทุนของตัวเองเท่าที่มี ไม่ใช่ทำเพราะเป็นตำแหน่งหน้าที่ที่ต้องทำ แต่รู้สึกว่า ชีวิตของเราต้องทำสิ่งเหล่านี้... คล้ายกับกวี หรือจิตรกร ที่สร้างสรรค์ผลงาน ขึ้นมาเพราะอยากจะสร้างมันขึ้นมาเอง ไม่ใช่เพราะมีใครจ้างให้ทำ ไม่สนใจว่าจะมีราคาค่างวดหรือไม่ แต่ที่สำคัญคือ มันมีความสุขใจนัก ที่ได้สร้างมันขึ้นมา ก็เท่านั้นเอง...
30/09/2014 }}}}}}}


ว่าด้วยหน่วยพื้นฐาน


          หน่วยพื้นฐานของเรามีเพียง 4 อย่างคือ


1.มวล(กิโลกรัม kg)
2.เวลา (วินาที s)
3.อุณหภูมิ(เคลวินหรือเซลเซียล K,C)
4.ระยะทาง(เมตร m)

          หน่วยปริมาณอื่นๆ จะอ้างอิงหน่วยพื้นฐานทั้ง 4 นี้ อย่างน้อย 1 ตัว(ส่วนหน่วยทางแม่เหล็กและไฟฟ้า จะแยกไว้อีกต่างหาก เพราะมันอยู่ในสภาพของความเป็นขั้ว (1 มิติ) ไม่ใช่สภาพ 2 มิติเหมือนหน่วยอื่นๆ และเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแม่เหล็กและไฟฟ้า กันใหม่สักเล็กน้อยด้วย ซึ่งจะไม่มีผลกับการคำนวนในหลักวิชาเดิม แต่มีผลกับการเรียกชื่อให้ถูกต้อง ตามที่มันควรจะเป็นเท่านั้นเอง )

          หน่วยพื้นฐานเหล่านี้เป็น 2 มิติเพราะว่าเราไม่เคยระบุมันด้วยความเป็นขั้ว เพราะมันไม่มีสภาพแยกขั้ว  มันเป็นปริมาณสเกลล่า http://en.wikipedia.org/wiki/Scalar_(physics)
ไม่มีทิศทาง และเราก็นำปริมาณหน่วย
เหล่านี้ไปทำให้เกิดเป็นปริมาณต่างๆ เช่น พลังงาน ความดัน หรือแรงกระทำ เป็นต้น คือการที่สามารถนำปริมาณ 2 มิติเหล่านี้ไปทำให้เกิดเป็นปริมาณสภาพที่ 3(หรือ 3 มิติ ซึ่งมีอยู่หลายอย่าง แล้วแต่ว่าเราจะวัดอะไรเทียบกับอะไรเป็นต้น) เช่นทำให้เกิดสภาพเป็นความเร็วขึ้น คือ จะได้หน่วยออกมาเป็น m/s เป็นต้นซึ่งปริมาณเหล่านี้จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่าทิศทางหรือความซับซ้อนเพิ่มขึ้นมาทำให้เกิดเป็นปริมาณที่ 3 นั้นเอง
                ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า 3 มิติเกิดขึ้นจาก 2 มิติและ 2มิติ ก็ย่อมเกิดจาก 1 มิติเช่นกัน ซึ่ง 1 มิติก็คือแรงพื้นฐาน 2 ชนิดนั้นเอง   แต่ในตอนนี้จะขอกล่าวในเรื่องหน่วยพื้นฐาน 2 มิติ
ก่อน ด้วยเริ่มจาก มวล( mass) ที่ทำให้เกิดแรงน้ำหนักก่อน(อาจจะสับสนกับ หน่วยน้ำหนักในชีวิตประจำวันของเรา เพราะหน่วยน้ำหนัก ปกติเราก็เรียกว่าเป็น กิโลกรัม(kg)  ซึ่่งเป็นหน่วยของมวล (mass )ในทางฟิสิกส์  แต่มวล ไม่ขึ้นกับค่า g ดังนั้น การเรียกหน่วยน้ำหนักในชีวิตประจำวันจึงแตกต่างจากความหมายทางฟิสิกส์

(ซึ่งจะให้ถูกต้องจริงๆ ต้องใช้หน่วยนิวตันแทนหน่วย กิโลกรัม
ในชีวิตประจำวันจึง จะเข้าใจตรงกันทั้งหมด) ดังนั้นในตอนนี้จึง ขอเพิ่มคำว่าแรง เข้าไปหน้าคำว่า น้ำหนัก เพื่อให้เห็น
สภาพของน้ำหนักที่ถูกต้อง และจากนี้ไป คำว่าน้ำหนักในที่นี้จะหมายถึงความหมายทางฟิสิกส์  )
         น้ำหนักมีหน่วยเป็นนิวตัน(N) ซึ่งหาได้จากสูตรของ เซอร์ ไอแซก นิวตัน

          F = ma =mg

        ซึ่งก็คือมวล (m) คูณด้วย g ซึ่งก็คือความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งมีค่าประมาณ 9.8 m/s2


แต่นี้คือ น้ำหนักในสภาพอยู่นิ่ง(เมื่อเทียบกับผิวโลก)เท่านั้น เพราะถ้าคุณเคลื่อนไหว น้ำหนักจะไม่เท่ากับสมการของนิวตัน เพราะน้ำหนักจะไม่อยู่นิ่งด้วย(ลองเดินไปเดินมาบนตาชั่งดูสิ) และถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่ายิ่งเราเคลื่อนไหวเร็วมากเท่าไหร่ น้ำหนักของเราที่ปรากฎบนตาชั่งจะเปลี่ยนแปลงเร็วตามไปด้วย แต่จากสมการ m ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แสดงว่า สิ่งที่เปลี่ยนไปคือในส่วนของ g นั้นหมายความว่า

ความเร็วVจะมีผลกับค่า g  

และทำให้น้ำหนักของเราเมื่อเทียบกับผิวโลกเปลี่ยนไปด้วย 
ซึ่งขอยกตัวอย่างประกอบก็แล้วกันเพื่อความเข้าใจเช่น

          1.ระบบรอก
http://en.wikipedia.org/wiki/Pulley
          การที่รอก ช่วยผ่อนแรงในการยกของหนักๆ ได้ไม่ใช่เพราะว่าจำนวนของลูกรอกช่วยกระจายแรงหรือทิศทางของแรงเชือกช่วยเบี่ยงเบนทิศทางแรง แต่จริงๆแล้วเป็นความเร็ว v ของการหมุนของลูกรอกแต่ละตัวต่างหากที่ไปลดน้ำหนักของสิ่งของลงเพราะถ้าลูกรอกนั้นไม่หมุนให้เกิดความเร็วแล้ว ระบบรอกนั้นๆ จะไม่ช่วยผ่อนแรงหรือลดแรงได้เลย(แต่ในการคำนวนเรื่องรอกในวิชาฟิสิกส์ไม่เคยกล่าวถึงเรื่องนี้เลย เพราะเขาคำนวนแต่ทิศทางของแรงที่กระทำกับลูกรอกแต่ละตัวและตามจำนวนเส้นเชือกเท่านั้น)


          2.น้ำหนักของรถยนต์




          ถ้ารถยนต์ของคุณหนัก 1 ตัน เมื่อจอดไว้นิ่งๆ แต่ถ้าคุณขับรถด้วยความเร็วสัก 100 กม/ชม. ผ่านเครื่องชั่ง(ที่เขาใช้ชั่งรถบรรทุก) น้ำหนักของรถคุณจะน้อยกว่า 1 ตันเสมอ และถ้าคุณขับเร็วมากขึ้นน้ำหนักก็จะยิ่งลดลงตามไปด้วย (ทดลองดูได้) ถามว่าน้ำหนักมันหายไปใหน  คำตอบคือน้ำหนักมันลดลง แต่ m ไม่ได้ลด แต่ที่มันลดลงคือในส่วนของค่า g ต่างหาก



          ถ้าใครเคยเล่นลูกข่างมาบ้าง เราจะพบว่าถ้ามันไม่หมุนมันจะทรงตัวบนปลายแหลมของลูกข่างไม่ได้  แต่ถ้ามันหมุนด้วยความเร็วระดับหนึ่ง(ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและขนาดของลูกข่าง) มันจะทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้ม ซึ่งเมื่อเราสังเกตสภาพที่เกิดขึ้นเราจะพบว่าส่วนที่หมุนช้าที่สุด คือส่วนปลายแหลมของลูกข่างเพราะเป็นแกนของมัน  ส่วน ส่วนอื่นๆนั้นจะหมุนเร็วกว่าแกนเสมอและยิ่งมันห่างจากแกนมากเท่าใดมันก็จะยิ่งหมุนเร็วมากขึ้น แต่เราทราบว่ายิ่งมันหมุนเร็วมากขึ้นน้ำหนักของมันก็จะลดลงไปด้วย(เมื่อเทียบกับผิวโลก) ดังนั้น ส่วนที่หนักที่สุดของลูกข่างในขณะที่มันหมุนคือแกนกลาง
          แต่ลูกข่างปกติที่เราเล่นก็มีความเร็วไม่มาก แต่หากเราสามารถเพิ่มความเร็วของลูกข่างขึ้นเรื่อยๆ มันจะทำให้น้ำหนักของแกนของลูกข่างลดลงจน มีค่าเท่ากับ 0 นั้นคือลูกข่างนั้นจะลอยอยู่เฉยๆ กลางอากาศได้ ซึ่งหมายความว่าที่ความเร็วระดับนั้นผลให้ส่วนของค่า 

∑ a = แต่ถ้าเราเพิ่มความเร็วขึ้นอีก น้ำหนักจะติดลบ  ซึ่ง
สมการที่เกิดขึ้นคือ

                         F = m(g-(V2/r)) 

โดย r เป็นขนาดของลูกรอก ลูกข่างและล้อรถ

http://www.rmutphysics.com/charud/transparency/12/moment-of-inertia/Moment-of-inertia-II_files/frame.htm

http://www.rmutphysics.com/charud/virtualexperiment/virtual1/ericksontutor/tutor/2210/pointmass_circular/indexthai.htm

(จริงอยู่ว่าในการคำนวนอย่างละเอียดเราต้องคำนึงถึงทิศทางของแรงต่างๆด้วย(เวคเตอร์)แต่โดยหลักการแล้วเราก็ใช้สูตรเดียวกันนี้)

 ซึ่งจะทำให้ลูกข่างของเราจะลอยสูงขึ้นไปในอากาศได้นั้นเอง ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพคล้ายๆ กับการต้านแรงโน้มถ่วง
http://en.wikipedia.org/wiki/Anti-gravity

ยังไม่เคยทดลองเอง แต่เคยเห็นในรายการ ทางโทรทัศน์ Mega Clever ในการทดลองการหมุนของลูกข่างในอวกาศ
          ซึ่งการอธิบายเช่นนี้เพราะต้องการแสดงให้เห็นว่าความเร็ว(ของวัตถุที่หมุนเป็นวงกลม)มีผลกับน้ำหนักและ ค่า g ก็คือการเปลี่ยนแปลงของเวลา( S2)หรือก็คือความถี่ f ที่เปลี่ยนไปของวัตถุนั้นเมื่อเทียบกับโลกนั้นเอง(เพราะเราคิดหน่วยเวลา มาจากการหมุนของโลก) และเพื่ออธิบายสภาพความเป็นมวล m (ซึ่งเกิดขึ้นจากความเป็นคลื่น)ภายในอะตอมด้วย ซึ่งจะใช้อ้างอิงในโอกาสต่อไป

20/07/2012

     ภายในอะตอม
    ในอะตอมไม่มีค่า g เพราะว่า g คือความเร่งของแรงที่โน้มถ่วงสัมพัทธ์ 
   (g is acceleration of relative gravity)

                                                   F = Gm1m2/r2

http://en.wikipedia.org/wiki/Newton%27s_law_of_universal_gravitation

คือแรงที่มัน(m1)เทียบกับ(refer to)สิ่งอื่นๆ(m2 )(สมการนี้ไม่ได้บอกว่ามวลใหนดึงดูด หรือผลักมวลใหน  เพราะไม่จำเป็นว่ามวลที่มากกว่าต้องดึงดูดมวลที่น้อยกว่าเสมอไป แต่ที่แน่ๆคือ มวลทั้ง 2 ต้องออกแรงที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะไม่เช่นนั้น คงไม่มีระยะห่าง r เหลือไว้ คือถ้าไม่ผลักกันจนห่างออกไปเรื่อยๆ ก็ต้องมาติดกันแล้ว)
        และเมื่อพิจารณาเฉพาะอะตอมเดี่ยวๆ จึงๆไม่มีค่า g ดังนั้นสมการของเราจึงได้แรงออกมาเป็น F = -mv2/r แต่ในเมื่ออยู่เพียงอะตอมเดี่ยวเครื่องหมาย + เครื่องหมาย ก็ไม่มีความหมายอะไร และ r ก็มีค่าเพียงแค่ 1 เพราะตัวของมันเองย่อมต้องมีความเป็นตัวตนของมัน (Identity)คือ 1 ดังนั้นสมการที่เหลืออยู่จึงเป็น F = mvและเรารู้ว่าฐาตุแต่ละฐาตุ(n)เกิดขึ้นจากแสงแต่ละความเร็ว (cn )ดังนั้นสมการที่ออกมาของแต่ละฐาตุ (n)จึงเป็น 


                                Fn  = mncn2

*****
ดังนั้นเราจึงสามารถใช้สมการนี้ได้  อย่างสมเหตุสมผล ไม่ว่ามันจะเป็นอะตอมของถ่าน(carbon) หรือ 
อะตอมของ ยูเรเนียม(Uranium) เพราะไม่ว่ามันจะเป็นฐาตุ อะไร มวล m มันก็หายไปทั้งสิ้นเมื่อให้พลังงาน      
****
http://en.wikipedia.org/wiki/Energy


พอจะคุ้นๆ บ้างไหมกับ สมการรวมแรงพื้นฐาน นี้
https://en.wikipedia.org/wiki/Fundamental_interaction

21/07/2012

1 = eiø = cosø+ isinø =ความคิดความรู้สึกถึงตัวตน = แสง(light) = 
วงกลมคลื่นแม่เหล็ก-ไฟฟ้า = จิต วิญญาณ(The Spirituality)

****************************************************************
ในทางคณิตศาสตร์ เซตของจำนวนเชิงซ้อน คือ เซตที่ต่อเติมจากเซตของจำนวนจริงโดยเพิ่มจำนวน i ซึ่งทำให้สมการ  i2 + 1 = 0 

เป็นจริง และหลังจากนั้นเพิ่มสมาชิกตัวอื่นๆ เข้าไปจนกระทั่งเซตที่

ได้ใหม่มีสมบัติปิดภายใต้การบวกและการคูณ จำนวนเชิงซ้อน z ทุก

ตัวสามารถเขียนอยู่ในรูป x + iy โดยที่ x และ y เป็นจำนวนจริง โดย

เราเรียก x และ y ว่าส่วนจริงและส่วนจินตภาพของ z ตามลำดับ


เซตของจำนวนเชิงซ้อนทุกตัวมักถูกแทนด้วยสัญลักษณ์  จากนิยาม

ข้างต้นเราได้ว่าเซตของจำนวนจริงเป็นสับเซตของเซตของ

จำนวนเชิงซ้อน ดังนั้นจำนวนจริงทุกตัวเป็นจำนวนเชิงซ้อน เรา

สามารถบวก ลบ คูณ และหารสมาชิกสองตัวใดๆ ของเซตของ

จำนวนเชิงซ้อนได้ (เว้นแต่ในกรณีที่ตัวหารคือศูนย์) และผลลัพธ์ที่ได้

จะเป็นจำนวนเชิงซ้อนเสมอ ดังนั้นในทางคณิตศาสตร์เราจึงกล่าวว่า

เซตของจำนวนเชิงซ้อนเป็นฟีลด์ (สนาม,field)

นอกจากนี้เซตของจำนวนเชิงซ้อนยังมีสมบัติปิดทางพีชคณิต 

(algebraically closed) กล่าวคือ พหุนามที่มีสัมประสิทธิ์เป็น

จำนวนเชิงซ้อนจะมีราก (พหุนาม)เป็นจำนวนเชิงซ้อนด้วย สมบัตินี้

เป็นที่รู้จักในชื่อทฤษฎีบทมูลฐานของพีชคณิต

นอกจากนี้ ในทางคณิตศาสตร์แล้วคำว่า "เชิงซ้อน" ถูกใช้เป็นคำ


คุณศัพท์ที่มีความหมายว่าฟีลด์ของตัวเลขที่เราสนใจคือฟีลด์ของ

จำนวนเชิงซ้อน ยกตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์เชิงซ้อน, พหุนาม

เชิงซ้อน, แมทริกซ์เชิงซ้อน, และพีชคณิตเชิงซ้อน เป็นต้น

http://en.wikipedia.org/wiki/Complex_number
http://th.wikipedia.org/wiki/จำนวนเชิงซ้อน
**********************************************************************************************************************
2/2/2013

จิต วิญญาณคือทุกสิ่งในจักรวาล

(The Spirituality is Everything in Universe) 



คือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และ

โลกใบนี้ด้วย 

ดังนั้นมันคือดิน ฟ้า อากาศ สิ่งแวดล้อม และตัวเราด้วย 

และทุกสิ่งล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์

กัน ไม่มีสิ่งใดอยู่โดดเดี่ยว ใน

จักรวาลนี้ และทุกอย่างที่เราคิด 

เรารู้สึก สิ่งแวดล้อม ดิน ฟ้า

อากาศก็ได้รับผลกระทบ จาก

ความคิดนั้นๆ ด้วย ถ้าเราอยากให้ดิน ฟ้า อากาศ เลวร้าย รุนแรง 

และทารุณ เราก็ทำให้จิต ใจ ของสิ่งมีชีวิต ของคนในโลกใบนั้น

 เลวร้าย รุนแรง ไร้ศีลธรรม และ มีจิตใจชั่วร้าย 

โดยการนำเสนอ สื่อ โทรทัศน์ ข่าวหนังสือพิมพ์ นิตยสาร 

อินเตอร์เน็ต เกมส์ และภาพยนตร์ ให้มีแต่สิ่งเหล่านี้ เพื่อให้คนใน

โลกใบนั้น คิด และรู้สึกตามสื่อเหล่านั้น ให้มากๆ ทุกๆวัน โดยที่เรา 

ไม่รู้ว่าความคิด ความรู้สึกของเรานั้น มันไม่ได้มีอยู่ในตัวเราเท่านั้น 

แต่มันมีอยู่ทั่วโลก ดังนั้นเมื่อคนส่วนมากมีจิตใจ ชั่วร้าย รุนแรง ดินฟ้า

อากาศ และสิ่งแวดล้อม ดั่งนรก ก็บังเกิดขึ้นให้เหมาะสมกับจิตใจของ

คนในโลกใบนั้น  แต่...



        ถ้าเราอยากให้ ดิน ฟ้า อากาศ สิ่งแวดล้อม

งดงาม ดั่งสวรรค์ เราก็ต้องนำเสนอสิ่งที่มันดีงาม

 ประพฤติแต่สิ่งดีงาม มีจิตใจ เมตตาต่อสิ่งทั้งปวง 

ไม่เสพ ข่าวสารที่เลวร้ายและรุนแรง แม้มันอาจจะ

ไม่สนุก สะใจ แต่รับรองว่ามันจะทำให้คุณและ

ลูกหลานของคุณมีชีวิตดั่งได้อยู่บนสรวงสวรรค์ 

อย่างแน่นอน


 *********************************************************************

ที่จริงแล้วมีอีกหลายเรื่องที่ยังค้างไว้ แต่ตอนนี้..คิดว่าคงไม่จำเป็นต้องเขียนต่อแล้ว  เพราะว่า
เมื่อเราเดินบนเส้นทางที่ถูกต้องแล้ว สิ่งที่เหลือ คนอื่นๆก็สามารถคิดต่อได้ โดยไม่ยากนัก

                                                                     CHEVASIT  HOMPA
                                                                      from Thailand
                                                                      8/02/2556(2013)
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

***ขอขอบคุณ ภาพประกอบจาก internet ทุกๆภาพ
      ขอขอบคุณ Google ที่ให้พื้นที่นำเสนอผลงาน
      ขอขอบคุณทุกท่าน ที่สนใจอ่านผลงาน ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย










15 ความคิดเห็น:

  1. น่าสนใจ ได้รับความรู้ และความจริง ที่สอดคล้องกับปรากฎการณ์ที่เราได้สัมผัสมาทั้งรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ตอนนี้ผมมี e-book 3 เล่มคือ TALBOT, MICHAEL - the holographic universe,Physics Prove God,และ The Hidden Reality_ Parallel Universes and the Deep Laws of the Cosmos ของ Brian Greene
    ถ้าคุณ ชวสิทธ์ ต้องกาาเพื่อขยายความในหลักการ ผมยินดีส่งให้ครับ
    ติดตามตั้งแต่บทความแรก ประทับใจในแนวคิดที่ตรงหรือใกล้เคียงกับผม
    ขอบคุณความรู้ที่ถ่ายทอดให้ครับ และจะคอยติดตามเรื่อยๆครับ ถ้าคุณชวสิทธ์ต้องการพูดคุยถึงประสบการณ์เพิ่มเติม ผมยินดีที่จะพูดคุยอย่างเปิดเผยครับ เพื่อช่วยกันค้นคว้าและหาคำอธิบาย
    Pised

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ คุณPised ผมยินดีมากที่จะได้รับการเสนอแนะและขอบคุณล่วงหน้าด้วยครับที่จะส่ง e-book ให้ (แต่ผมอาจจะใช้เวลานานหน่อยนะครับที่จะอ่าน แปลภาษาอังกฤษ ผมไม่ค่อยคล่องนัก) และหากมีโอกาสก็ยินดีที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ครับ
    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  3. ผมได้ทำลิ้งก์ดาวน์โหลด ให้แล้วนะครับเป็นไฟล์ .zip มี ebook ครบทั้ง 3 เล่ม และมีแปลเบื้องต้นของ
    physics prove God ดาวน์โหลดได้ที่นี่เลยครับ
    http://quickbookspremiervspro.com/hidden-reallity.zip
    ผมดีใจครับที่ได้มอบหนังสือให้กับคนที่เห็นค่า และสนใจจริงๆ.....
    Pised

    ตอบลบ
  4. ผมสนใจมาเลยครับ ผมกำลังพยายามศึกษาต่อยอดอยู่นะครับ

    ตอบลบ
  5. ถ้ามีโอกาศแลกเปลี่ยนความรู้มากกว่านี้ผมจะดีใจมาก

    ตอบลบ
  6. ด้วยความยินดีครับคุณ Bank ja เพราะเป็นความตั้งใจของผมอยู่แล้วที่จะเผยแพร่ความรู้และช่วยกันผลักดัน องค์ความรู้ให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง เพราะหลายอย่างนั้นเราคิดกันมาเป็นเวลานับ 100 ปี แล้ว ซึ่งตอนนั้น ไม่มีมือถือ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ไม่มี ข้อมูลให้สามารถค้นคว้าอะไรได้มากนัก แต่ตอนนี้ เรามีแล้ว ผมจึงคิดว่าถึงเวลาต้องปรับปรุงความรู้ของเราแล้ว โดยเฉพาะความรู้พื้นฐาน ซึ่งถ้าไม่ถูกต้องแล้วมันจะทำให้การต่อยอดความรู้นั้น มีปัญหา ณ จุดหนึ่งจนได้... e-mail ของผม: chevasit@gmail.com

    ตอบลบ
  7. แนวคิดหลักของผมคือ นำเสนอองค์ความรู้ ในภาพรวม ที่สามารถอธิบายได้ง่ายๆ จากไม่รู้เลย สู่ความรู้ชั้นสูงได้ โดยมองข้ามลายละเอียดไปก่อน คล้ายๆ กับการสร้างบ้าน เราเริ่มจากสร้างโครงสร้างหลักๆก่อน ส่วนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ค่อยๆ เก็บที่หลังก็ได้ ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำงานลำบากมาก และเสียเวลาอย่างยิ่ง( เพราะ บางเรื่องเราไม่ชำนาญ ) และผมก็มีข้อได้เปรียบ ท่านอาจารย์ทั้งหลาย คือผมไม่ได้สังกัดหน่วยงานราชการ หรือสถาบันใดๆ ดังนั้นคิดจะทำอะไร ก็ทำเลยโดยไม่ต้องเกรงใจหรือขออนุญาต หน่วยงานก่อน ไม่ต้องสนใจว่างานเขียนจะกระทบกับ ตำแหน่งของเราหรือเปล่า (เพราะมันไม่มี) ทำให้มีความคล่องตัวมาก มีอิสระที่สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ

    ตอบลบ
  8. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  9. ผมมีงานเขียนในเว็ปไซต์ vcharkarn.com อยู่หลาย บล๊อก ด้วยกัน ซึ่งเป็นงานที่อธิบายงานใน บล๊อกนี้ บางส่วน และเป็นงานที่ต่อยอดจากความรู้ได้ในบล๊อกนี้ ซึ่งจะทำให้เข้าใจ เรื่องของควอนตัม ได้ดีขึ้น และการค้นพบ ตัวนำยิ่งยวดอุณหภูมิห้อง (Room Temperature Superconductor) ในที่สุด

    http://www.vcharkarn.com/blog/writer/chevasit

    ตอบลบ
  10. ถ้าหากว่าเว็บไซต์ vcharkarn.com เข้าไม่ได้ ผมก็มีข้อมูลสำรอง ใน wordpress.com ด้วยครับ ตามนี้
    Https://chevasit.wordpress.com

    ตอบลบ
  11. ผม (Chevsit@facebook.com) เพิ่งสร้างเพจ ..
    สมาคมผู้ศึกษา Riemann hypothesis แห่งประเทศไทย.. ขึ้นมา เพื่อศึกษาและพิสูจน์ Riemann hypothesis (RH) ถ้าใครสนใจต้องการรู้ว่า ถ้าพิสูจน์สมมุติฐานนี้ได้แล้ว มันจะเป็นยังไง และจะมีประโยชน์อะไรบ้าง ก็แวะมาอ่าน ศึกษาดู ได้ครับ

    ตอบลบ
  12. ท้ายนี้..
    หากท่านใด คิดว่าบทความในblog นี้มีประโยชน์ และต้องการสนับสนุน ผู้เขียนก็สามารถโอนเงินมาได้ ตาม prompt pay ด้านล่างนี้ได้ครับ
    089-4241159

    ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  13. ล่าสุดคือหัวข้อ Universe Physics และ Imaginary Energy เป็นความรู้ที่ใช้พื้นฐานความรู้ ทางคณิตศาสตร์ มาจากใน blog นี้.. หากท่านใด สนใจว่า มันเป็น ทฤษฎีองค์ความรู้แบบใหน ก็สามารถตามไปดูใน เพจ Facebookได้ หรือค้นใน Google ก็สามารถพบงาน ที่ผู้เขียนได้ฝาก linkไว้ เช่นกันครับ..
    หาได้ ในหน้าแรกๆ เลย เพราะงานแบบนี้ มันไม่ค่อยมีใคร เขาทำได้กันหรอกครับ

    ตอบลบ
  14. สรุปรวบยอดได้ว่า..
    กลศาสตร์มิติที่ 5 หรือ Emperor mechanics (EM) เป็นกลศาสตร์ที่ต่อยอด ไปจาก Bose-Einstein condensate state (BEC) นั้นเอง!😊

    ตอบลบ
  15. เรื่องแจ้งให้ทราบ.!
    เนื่องจาก งานเขียนในblog นั้น อาจมีข้อผิดพลาด อยู่บ้างบางประการ! แต่ข้าพเจ้าไม่อยากจะ แก้ไขในต้นฉบับ! เพราะต้องการ คงประวัติ แนวคิดของมันเอาไว้เหมือนเดิม! แต่ ผู้ข้าพเจ้าก็ได้ ระบุส่วนที่ผิดและการแก้ไข ไว้ใน เว็บไซต์ส่วนตัว ด้านล่างนี้ .. หากท่านใดสนใจก็ เข้าไปดูได้ครับ..
    ซึ่งงานสำเร็จนั้น ข้าพเจ้าตั้งชื่อว่า..
    Universe's formula!
    https://wp.me/p8sASH-1e

    ตอบลบ